วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556

     สรุปงานวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ( ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ )

      สรุปบทนำ 
          การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสวงหาองค์ความรู้ตามความสนใจและมีอิสระในการลงมือปฏิบัติกิจกรรม ค้นคว้าหาคําตอบด้วยตนเองเด็กปฐมวัยได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน ได้ศึกษาเรื่องที่ตนเองสนใจตามความถนัดของตนเองและใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ดีเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

      วัตถุประสงค์
          เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ดังนี้
 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

      กลุ่มตัวอย่าง
          นักเรียนชาย หญิงอายุ 56 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยกสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากําแพงเพชรเขต 2 จํานวน 15 คน
เลือกมาด้วยการเลือกแบบเจาะจงจากห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น

      ดำเนินการทดลอง
          ดําเนินการทดลองโดยใช้อาศัยการวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองตามแบบแผนการ วิจัยแบบ One-Group Pretest Posttest Design       

      สรุปผลการวิจัย
          1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง 
          2.ทักษะการจําแนกประเภทก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.876 หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 7.933 จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ได้ดีและส่งผลให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจําแนกประเภทสูงขึ้น
          3.ทักษะการรู้ค่าตัวเลข ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 3.267 หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 7.667 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยช่วยส่งเสริมทักษะการรู้ค่าตัวเลขให้กับเด็กปฐมวัยได้ในขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
          4.ทักษะการเพิ่ม ลด จํานวนไม่เกิน 10 ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ3.933 หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 6.533 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยช่วยส่งเสริมทักษะการเพิ่ม ลด จํานวนไม่เกิน 10 ได้จากการที่เด็กได้นับจํานวนสิ่งของต่างๆใส่ตะกร้าและหยิบออกจากตะกร้า                                                                 
          
       แหล่งที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Sirilak_W.pdf
          

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 นิทานคณิตศาสตร์หรรษา


            นิทานเรื่อง ผักกาดยักษ์ประหลาดสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องใด?
       - นิทานเรื่องนี้สอนคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับเลข บวก-ลบ เลข หรือการเพิ่มลดจำนวนนั่นเอง

     อ่านฉบับเต็มคลิก : http://www.lpmp.org/images/stories/chan/pakkardyakpralad.pdf





วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
      ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน
   - อาจารย์นำผลงานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาให้ดูเป็นตัวอย่าง




      กลุ่มที่ 1 สอบสอนหน่วย ข้าว


กลุ่มที่ 2 สอบสอนหน่วย ผลไม้ (สับปะรด)


      หมายเหตุ - กลุ่มที่ไม่ได้นำเสนอการสอบสอนอาจารย์ให้เขียนใส่กระดาษแทนการนำเสนอให้ครบทั้ง 5 วัน ต้องเขียนให้ละเอียด ครบถูกต้องตามขั้นตอน ถ้าอาจารย์ถามต้องสามารถตอบได้


  




วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556
          กลุ่มที่1 ออกมานำเสนอเรื่อง ไข่ แต่ยังไม่ถูกต้องอาจารย์จึงให้กลับไปแก้ไข และสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมก็คือ การใช้คำถามในการถามเด็ก
          กลุ่มที่2 ออกมานำเสนอเรื่อง ผลไม้ ดิฉันจะยกตัวอย่างการสอนของเพื่อนมาเป็นตัวอย่าง

     วันจันทร์ : สอนเรื่อง ชนิดของผลไม้

      - ใช้คำถามๆเด็ก เช่น เด็กๆคะ เด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้างคะ?
      หลังจากนั้นคุณครูต้องเขียนบันทึกให้เด็กๆรู้เรื่องภาษาใหม่เด็กจะได้รับประการณ์ทางภาษา
      - คำถามต่อมา เด็กๆคิดว่ามีอะไรอยู่ในตะกร้าคะ ในการใช้คำถามนี้เราต้องมีผ้าปิดตะกร้าผลไม้ไว้   เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ เมื่อเปิดตะกร้ามาใครตอบถูกก็ให้ปรับมือให้ตัวเอง
      - และเมื่อเราจะถามคำถามสุดท้ายให้เชื่อมโยงเข้ากับตัวเลข โดยการสอนนับผลไม้ที่มีทั้งหมด เช่น เด็กๆคิดว่าในตะกร้ามีผลไม้ทั้งหมดกี่ผลคะ? เมื่อนับเสร็จให้ใช้ตัวเลขกำกับ

          * ตัวสุดท้ายของวันแรกจะเป็นตัวบอกจำนวน
          * แยกผลไม้ที่มีสีแดงว่ามีทั้งหมดกี่ผล
          * แยกผลไม้ที่ไม่มีสีแดงว่ามีทั้งหมดกี่ผล

     วันอังคาร : สอนเรื่อง ลักษณะของผลไม้
           - เลือกผลไม้ที่จะให้เด็กสังเกตมาแค่ 2 ชนิด (เลือกแบบมีประเด็น)
           - ส่งผลไม้ไปให้เด็กๆสังเกต สัมผัส เพื่อที่จะเปรียบเทียบได้ว่าผลไม้ 2 ชนิดนี้ต่างกันอย่างไร
         ข้อควรระวัง
     การเลือกผลไม้มาให้เด็กเปรียบเทียบต้องเลือกผลไม้ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะเด็กยังไม่สามารถเข้าใจได้ลึกซึ้ง

     วันพุธ : สอนเรื่องประโยชน์

                                

          อาจสอนโดยใช้เทคนิคการเล่นนิทานถึงประโยชน์ของผลไม้ หรือ ส้ม ว่าสามารถนำมารับประทานได้ นำไปประดับตกแต่งได้ เป็นต้น

     วันพฤหัสบดี : สอนเรื่องการทำน้ำผลไม้หรือการทำน้ำส้ม


                                    ** ในสัปดาห์หน้าให้กลุ่มที่เหลือออกไปนำเสนอต่อ **

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
      - ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำ Mind Mapping และเตรียมตัวในการสอนสัปดาห์ถัดไป

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม

      การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยให้ได้ผลดีนั้น ควรวางเป้าหมายของการเรียนคณิตศาสตร์ให้ชัดเจน และเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางในการจัดประสบการณ์ให้ตรงกับสิ่งที่ครูกำหนดไว้ให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก ซึ่งมีนักการศึกษาได้เสนอเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
                Wortham (1994 : 187) กล่าวถึง เป้าหมายของโปรแกรมคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายใหญ่ด้านสังคมและการใช้ชีวิตเมื่อเติบใหญ่ในศตวรรษหน้าสรุปได้ดังนี้
      1. การแก้ปัญหา
      2. การสื่อสารความคิดทางคณิตศาสตร์
      3. การใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
      4. การประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในสถานการณ์ประจำวัน
      5. การเตรียมความพร้อมในการให้เหตุผลของผลลัพธ์
นิตยา ประพฤติกิจ (2551 : 28 - 29) กล่าวไว้ สรุปได้ว่าการให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด็กได้รู้จักการใช้เหตุผล เพิ่มพูนคำศัพท์ที่ควรรู้จักและควรเข้าใจสามารถเชื่อมโยงไปสู่การเข้าใจเรื่องอื่นๆ ด้วยตนเองได้ดั้งนั้นเป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาลจึงควรมีดังนี้
          1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
          2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า “กิ่งหนักกว่า “ดาว” แต่บอลบอกว่า “ดาว” หนักกว่า “กิ่ง” เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่งน้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก
          3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จัก เข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
          4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ
          5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
                จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่าการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์สามารถกระทำและส่งเสริมได้ตั้งแต่เด็กในระดับปฐมวัย ซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนเฉพาะในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม ด้วยเหตุที่เด็กปฐมวัยมีธรรมชาติและลักษณะพัฒนาการที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ ดังนั้นการจัดประสบการณ์และกิจกรรมทางด้านคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย จึงต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด
                คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ได้เริ่มในวันแรกของการเข้าโรงเรียนพัฒนาการของความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ ตัวเลข รูปทรง และแบบรูป เริ่มตั้งแต่ที่เด็กมีประสบการณ์อยู่ในช่วงทารก การเล่นกับของเล่น การพุดคุย การร้องเพลง การค้นคว้าสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กจะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เด็กรู้จักโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ควรจัดให้เด็กมีประสบการณ์การค้นคว้าอย่างไม่เป็นทางการด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เพราะเป็นการวางรากฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Hendrick. 1991 อ้างใน นภเนตร ธรรมบวร. 2544 : 71)
                มีนักการศึกษาจำนวนมากได้มุ่งเน้นความสำคัญของการสื่อสารในการเรียนคณิตศาสตร์ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น โดยครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีการตรวจสอบและสื่อสารในสิ่งที่เรียนในรูปแบบต่างๆ อย่างเช่น การอภิปราย พูดคุยในกลุ่ม การเขียนบันทึกและวาดภาพเป็นต้นนักการศึกษาได้เสนอแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์หลายแนวทาง ซึ่งสรุปได้ดังนี้
                สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้ให้แนวทางสำหรับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล (Clements and Sarama. 2000 : 115 - 116) ดังนี้
      1. ครูต้องตระหนักว่าการสอนคณิตศาสตร์อย่างไร ให้มีความสัมพันธ์กับหัวเรื่องและควรเป็นการสอนที่บูรณาการเนื้อหาคณิตศาสตร์กับเนื้อหาวิชาอื่น 
      2. ไม่ควรจัดประสบการณ์โดยให้เด็กนั่งเป็นกลุ่มๆ จากบทเรียน แต่ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย น่าตื่นเต้น ท้าทายความสามารถ ซึ่งเด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านั้น
      3. เด็กอนุบาลควรได้รับการประกันในเรื่องการจัดประสบการณ์การคิดทางคณิตศาสตร์
      4. เด็กอนุบาลควรได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการ ครูควรจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก มีความน่าสนใจและเกิดจากการใช้คำถามของครู
      5. ครูควรมีความเพียรพยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กสังเกตพฤติกรรมโดยละเอียดและนำสิ่งเหล่านี้มาแปลความหมาย นำไปสู่การเตรียมการสอนเพื่อสัมพันธ์กับหลักสูตร
      6. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูจะต้องจัดเนื้อหาคณิตศาสตร์อย่างมีความหมายรวมทั้งจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ครูควรสังเกตการทำกิจกรรมของเด็กและเข้าพูดคุยหรือแนะนำเด็ก เมื่อพบว่าเด็กมีปัญหาหรือไม่แน่ใจโดยการใช้คำถามเพื่อการสืบค้นหาคำตอบซึ่งจะทำให้เด็กอนุบาลมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ และมีความรู้ความเข้าใจคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน
                Beaver (1995 : 112) ได้กล่าวถึงแนวการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
      1. บูรณาการคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษา สังคม ฯลฯ ในเนื้อหาในหน่วยการเรียน ซึ่งเห็นว่าในแต่ละหน่วยการเรียนจะมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับหน่วยนั้นๆ ผสมผสานกับความคิดรวบยอดของคณิตศาสตร์ในช่วงนี้จะมีการทำกิจกรรมเป็นรายบุคคลกลุ่มย่อยหรือทั้งห้องจากนั้นก็จะมีการจัดกิจกรรมในรูปของศูนย์การเรียนต่างๆ เช่นศูนย์คณิตศาสตร์ศูนย์ภาษาฯลฯ โดยเฉพาะศูนย์คณิตศาสตร์ควรจัดให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หลากหลายและสัมพันธ์กับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่กำหนดขึ้น
      2. การสอนคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมีการจัดกระทำและเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
     3. ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นจริง เด็กเรียนรู้ผ่านการทดลองการค้นพบและการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายและเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ



ดิฉันได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน


          สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน
    - ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ 
    - ได้รู้ถึงวิธีการพูด การใช้น้ำเสียงกับเด็กๆว่าต้องใช้เสียงอย่างไร
    - ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว
    - ได้รู้ว่ากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ได้ เช่น ในห้องที่ดิฉันได้เข้าไปดูการเรียนการสอน กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์คุณครูให้เด็กๆทำข้าวโพด โดยมีการตัดกระดาษเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ทรงรี แล้วก็วงกลมที่มาจากแกนกระดาษทิชชู่ ซึ่งเด็กๆบางคนก็สามารถตอบคำถามได้ว่าคือรูปทรงอะไร
    - ทำให้รู้ว่าการเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนแต่ในตำราเท่านั้น แต่ยังสามารถนำวัสดุเหลือใช้หรือสิ่งของรอบตัวเด็กมาสอนได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถทำให้สิ่งเหล่านั้นเกิดประโยชน์มาก น้อยเพียงใด