วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556



  - อาจารย์ยกตัวอย่าง Mind Mapping เรื่อง ไข่

               วิธีการเลือกหน่วยที่นำมาใช้สอนกับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
        1. เรื่องใกล้ตัว
        2. มีประโยชน์กับเด็ก
        3. เด็กรู้จัก
        4. เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
        5. เป็นเรื่องง่ายๆเด็กสามารถทำได้
        6. เหมาะสมกับวัยของเด็ก
        7. มีความสำคัญกับเด็ก
        8. คำนึงถึงผลกระทบ



        ตัวอย่างเช่น คุณครูอาจจะยกตัวอย่างการเรียนการสอนวันจันทร์ - ศุกร์ ในเรื่องของไข่
          วันจันทร์     เรียนเกี่ยวกับชนิดของ ไข่
          วันอังคาร   เรียนเกี่ยวกับลักษณะของ ไข่ เช่น ไข่ไก่มีสีน้ำตาล ไข่เป็นมีสีขาว เป็นต้น

      * อาจารย์ให้การบ้านทำ Mind Mapping เรื่องเกณฑ์ และตัวชี้วัด คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          
      ส่ง Mind Mapping ที่นำไปแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมกับแนบงานเดี่ยวส่ง

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556
      - กิจกรรมในห้องเรียนอาจารย์ให้ส่ง Mind Mapping งานกลุ่มที่ได้มอบหมายไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้คำแนะนำกับผลงานของนักศึกษา
      วิธีการเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
          1. เรื่องใกล้ตัวเด็ก
          2. มีประโยชน์กับเด็ก
          3. เด็กรู้จัก
          4. เป็นเรื่องง่ายๆที่เด็กสามารถทำได้
          5. เหมาะสมกับวัยของเด็ก
          6. เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก
          7. มีความสำคัญกับเด็ก
          8. มีผลกระทบกับเด็ก
     *** ถ้าเด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันดับแรกที่ครูควรทำคือสำรวจโรงเรียนว่าอะไรที่จะสามารถนำมาบูรณาการได้ ที่จะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจและตามกำลังเท่าที่ครูคนหนึ่งจะสามารถทำได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

สื่อที่นำมาแก้ไขใหม่




      กลุ่มของดิฉันนัดกันมาทำสื่อใหม่ เมื่อถึงเวลานัดเพื่อนๆก็มาช่วยกันทำจนเสร็จแล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้าน

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556

         - อาจารย์ให้ส่งงานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม
         กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์ลูกคิดจากสิ่งของเหลือใช้ สอนในเรื่อง การนับ จำนวน 
         การดำเนินการควรมีการปรับและแก้ไขงานให้ตรงกับวัย  ซึ่งวัยนี้ยังไม่เหมาะกับลูกคิด เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถเข้าใจในตัวเลขและนามธรรมแต่เด็กจะเรียนรู้จากสัญลักษณ์ รูปธรรม สิ่งที่เด็กเห็นและเรียนรู้ต้องเป็นของจริงจับต้องได้และมีมิติ
         กลุ่มที่ 2 ประดิษฐ์กราฟ  ซึ่งตรงกับมาตรฐานที่ 6 คือกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ตรงกับ อาจารย์เยาวภาและอาจารย์นิตยา ได้ให้นิยามไว้         
         กลุ่มที่ ประดิษฐ์ปฎิทิน (ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉันเอง) วันและเดือน สอนในเรื่องการนับ จำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ ปริมาณ หมายเหตุ ควรจะใส่วันเกิดเด็กลงไปในปฎิทิน หรือเลือกประสบการณ์ที่มีอยูในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น วันที่ 1 อากาศเป็นอย่างไรและแปะลงไปในปฎิทิน แต่ไม่ควรถามวันเสาร์ วันอาทิตย์ เพราะแหล่งข้อมูลของเด็กจะไม่ตรงกัน พอสิ้นเดือนก็ถามว่าเดือนนี้มีท้องฟ้าแจ่มใสกี่วัน ฝนตกกี่วัน ทำให้สามารถเชื่อมโยงกับลูกคิดของเพื่อนกลุ่มที่ 1 และกราฟของกลุ่มที่ 2 ได้ค่ะ       - อาจารย์ให้นำชิ้นงานกลับไปปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยแล้วนำมาส่งในสัปดาห์ต่อไป

       - งานที่ได้รับหมอบหมาย ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คนทำ my map หน่วย สาระ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเรื่องปลา






วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2556

สื่อปฏิทิน 


      หมายเหตุ  อาจารให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์ที่แบ่งออกกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2555


      - ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นเทศกาลปีใหม่และยังอยู่ในช่วงสัปดาห์สอบกลางภาค