วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556

     สรุปงานวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ( ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ )

      สรุปบทนำ 
          การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสวงหาองค์ความรู้ตามความสนใจและมีอิสระในการลงมือปฏิบัติกิจกรรม ค้นคว้าหาคําตอบด้วยตนเองเด็กปฐมวัยได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน ได้ศึกษาเรื่องที่ตนเองสนใจตามความถนัดของตนเองและใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ดีเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

      วัตถุประสงค์
          เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ดังนี้
 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

      กลุ่มตัวอย่าง
          นักเรียนชาย หญิงอายุ 56 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยกสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากําแพงเพชรเขต 2 จํานวน 15 คน
เลือกมาด้วยการเลือกแบบเจาะจงจากห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น

      ดำเนินการทดลอง
          ดําเนินการทดลองโดยใช้อาศัยการวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองตามแบบแผนการ วิจัยแบบ One-Group Pretest Posttest Design       

      สรุปผลการวิจัย
          1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง 
          2.ทักษะการจําแนกประเภทก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.876 หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 7.933 จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ได้ดีและส่งผลให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจําแนกประเภทสูงขึ้น
          3.ทักษะการรู้ค่าตัวเลข ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 3.267 หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 7.667 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยช่วยส่งเสริมทักษะการรู้ค่าตัวเลขให้กับเด็กปฐมวัยได้ในขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
          4.ทักษะการเพิ่ม ลด จํานวนไม่เกิน 10 ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ3.933 หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 6.533 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยช่วยส่งเสริมทักษะการเพิ่ม ลด จํานวนไม่เกิน 10 ได้จากการที่เด็กได้นับจํานวนสิ่งของต่างๆใส่ตะกร้าและหยิบออกจากตะกร้า                                                                 
          
       แหล่งที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Sirilak_W.pdf
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น