กิจกรรมการเรียนการสอน
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน และให้นำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือคณิตศาสตร์ที่ศูนย์วิทยบริการของมหาวิทยาลัยขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะ โดยงานที่ได้ไปสืบค้นมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ค้นหา ชื่อหนังสือ / ชื่อผู้แต่ง / พ.ศ. / เลขเรียกหนังสือ
2. หาความหมายของคำว่า " คณิตศาสตร์ "
3. จุดมุ่งหมาย / จุดประสงค์ / เป้าหมาย ของ " คณิตศาสตร์ "
4. ทฤษฎีการสอนหรือวิธีการสอน " คณิตศาสตร์ "
5. ขอบข่าย " คณิตศาสตร์ "
6. หลักการสอน " คณิตศาสตร์ "
จากนั้นให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่แต่ละคนหามาได้ นำมาสรุปให้เป็นใจความเดียวกัน โดยที่แต่ละข้อจะต้องมีแหล่งอ้างอิงต่อไปนี้ ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้เขียน ปี พ.ศ. เลขหน้า และเลขหมู่หนังสือ
ภาพชิ้นงาน
หลังจากที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มได้ช่วยกันสรุปงานในแต่ละหัวข้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 1 คน เพื่อนำเสนองานในหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้ และในแต่ละหัวข้อต้องมีแหล่งอ้างอิง แหล่งที่มา คือ ต้องมี ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้เขียน ปี พ.ศ. รวมถึงเลขหน้าด้วยว่าอ้างอิงหรือนำบทความมาจากหน้าใด
ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายของคำว่า
“คณิตศาสตร์”
คณิตศาสตร์มิได้หมายความเพียงตัวเลขสัญลักษณ์เท่านั้น
แต่เป็นศาสตร์ของการคิดคำนวณและการวัด
มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลเพื่อให้สื่อความหมาย คิดเป็น คิดเร็ว
คิดแก้ปัญหาและเข้าใจได้
อ้างอิง
:: วลัยลักษณ์ อินธิชัย,พรทิพย์ สุมาลัย
และธาลากมล โภคัง (2555)
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา เดชะคุปต์, 2528,
หน้า 76
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
1.เพื่อฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ละเอียด ถี่ถ้วน รอบคอบ
2.เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้อต้น
3.เพื่อให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจค่าและความหมายของตัวเลข
4.เพื่อให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบ การแยกหมู่ รวมหมู่ การเพิ่มขึ้นและลดลง
5.เพื่อให้เด็กเข้าใจความหมายและใช้คำพูดเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง
6.เพื่อฝึกทักษะในการคิดคำนวณ
7.เพื่อให้สัมพันธ์กับวิชาอื่นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
8.เกิดความคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
9.มีความสามารถในหารแก้ปัญหา
10.ส่งเสริมความเป็นเอกัตบุคคลในตัวเด็ก
อ้างอิง
::
หนังสือการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมศึกษา,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2526, หน้า
245-2467
หนังสือกิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา
เดชะคุปต์,2528,หน้า 71
ทฤษฎีการสอนหรือวิธีการสอนคณิตศาสตร์
การจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยจะตต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.มีความพร้อมที่จะเรียน
2.มีเวลาให้ค้นคว้าทดลอง
3.ใช้ภาษาและสัญลักษณ์
4.แสดงวิธีทำตามขั้นตอน
5.ครูร่วมกับเด็กปฏิบัติจริง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นความรู้พื้นฐานของเด็กที่ได้รับประสบการณ์
เกี่ยวกับการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกตามรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก ความยาว
ความสูง ความเหมือนและความแตกต่าง
อ้างอิง :: คู่มือการบริหารโรงเรียนอนุบาล,การเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษา
(2520) หน้า
263-266
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา
เดชะคุปต์, 2528, หน้า 73
เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา,หน้า 2
ขอบข่ายคณิตศาสตร์
สาระที่
1 การเปรียบเทียบ
สาระที่
2 การเรียงลำดับ
สาระที่
3 การวัด
สาระที่
4 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
สาระที่
5 การนับ
สาระที่
6 การจัดหมู่ การรวมหมู่ การแยกหมู่
สาระที่
7 ภาษาคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์
การสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่เป็นสิ่งที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
ซึ่งมีเนื้อหาที่ควรพิจารณาในการสอนดังนี้
1.การจัดหมู่หรือเซท
2.จำนวน
3.ระบบจำนวน
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซทต่างๆ
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์
6.ลำดับที่ ความสำคัญ
7.การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
8.การวัด
9.รูปทรงเรขาคณิต
10.สถิติและกราฟ
อ้างอิง
:: กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา
เดชะคุปต์, 2528, หน้า 76
หลักการสอนคณิตศาสตร์
เพยเจท์ได้ให้เทคนิคซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการที่เด็กจะพัฒนาและเรียนรู้มโนทัศน์คณิตศาสตร์ดังนี้
1. เด็กจะสร้างความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุ
โดยวิธีธรรมชาติหรือด้วยตนเองเท่านั้น
2.
เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น
3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์ สอนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่างๆทางคณิตศาสตร์
การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็กมี 2 ประการ
1. การสอนให้เด็กคิด
โดยใช้วัสดุต่างๆประกอบการสอน วิธีการนี้เริ่มต้นในโรงเรียนมอนเตสซอรี่
ในประเทศอังกฤษ
2. การสอนตามสติปัญญาของผู้เรียน
วิธีนี้จะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะเรียน
อ้างอิง
:: ปฐมวัยศึกษา:หลักสูตรและแนวปฏิบัติ,หรรษา
นิลวิเชียร, หน้า 158-159 (2534)
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา เดชะคุปต์, 2528, หน้า 72
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น