วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2555
      การเรียนการสอน
อาจารย์ได้สอนเรื่องขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
1. การนับ คือ การนับเงิน การนับสิ่งของ เพื่อให้ได้จำนวน และแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ (ตัวเลขฮินดูอาราบิค)
2. ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ( ตัวเลข = ตัวสัญลักษณ์ทางภาษา)
3. การจับคู่ คือ ความเหมือน รูปร่าง รูปทรง จำนวนที่เท่ากัน เลขคู่ เลขคี่ สูง ต่ำ
4. การจัดประเภท เช่น การแยกสีผลไม้ แยกประเภทสัตว์ ( การกำหนดเกณฑ์ต้องกำหนดเกณฑ์เดียว)
5. การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบของ 2 สิ่ง (การสังเกต,กะประมาณ)
6. การจัดลำดับ เช่น เตี้ย สูง ก่อนจัดลำดับต้องหาค่าปริมาณ เปรียบเทียบ จัดลำดับและตัวเลขกำกับ
7. รูปทรงและเนื้อที่ เช่น 3มิติ
8. การวัด คือ การหาค่าปริมาณ ความยาว พูดถึงการวัดสิ่งที่นึกถึง คือ ไม้บรรทัด หน่วย
9. เซต คือ การจับกลุ่ม เช่น เครื่องสำอางค์ ( บางอย่างอาจไม่ได้จัดอยู่กลุ่มเดียวกันแต่อาจมีความสัมพันธ์กันในบางเรื่อง)
10. เศษส่วน เช่น การแบ่งเค้ก คำที่เด็กต้องรู้จัก คือ ครึ่ง เท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย การทำตามแบบที่อยู่บนพื้นฐานวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และลงมือปฏิบัติจริง เด็กต้องมีอิสระและสามารถตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเองได้ ถ้าทำตามแบบมากๆเด็กจะเกิดความเครียดและทำลายความเชื่อมั่นในตัวเด็ก แบบจึงต้องเป็นแบบที่ทำตามได้ง่าย เช่น การเล่นกระต่ายขาเดียว การวางของตามแบบ เป็นต้น
12. การอนุรักษ์ การที่เด็กตอบตามที่ตาเห็น ก็คือบอกปริมาณคงที่ แม้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป
      รูปธรรม คือ เห็นจริง ปฏิบัติจริง
      กึ่งสัญลักษณ์ คือ ใช้รูปแทนสิ่งของนั้นๆ
      นามธรรม คือ สามารถคิดได้โดยไม่ต้องเห็นรูปหรือปฏิบัติจริง
13. สถิติและกราฟ คือ ความถี่ กราฟจะแสดงและสะท้อนข้อมูล





      ความรู้ที่ได้รับ
1. ทำให้ทราบว่าขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กมีอะไรบ้าง
2. ทำให้รูว่าเด็กในวัยใดควรสอนในเรื่องใด
3. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น